วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 10250

เรื่องของ อียิปต์>"<~~

อียิปต์
ลักษณะทั่วไป
อียิปต์อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศใต้จดเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกจดทะเลแดง และทิศตะวันตกจดทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายลิเบีย อากาศค่อนข้างจะแห้งแล้ง มีฝนตกแต่เพียงเล็กน้อย คร่อมแหลมไซนายอียิปต์มีแม่น้ำไนล์ซึ่งมีความยาวประมาณ 400 ไมล์ ไหลผ่านเป็นแนวยาวจาก วาดิฮัลฟา ในเขตซูดาน จนถึงไคโร ช่วยให้บริเวณสองฝั่งแม่น้ำชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลมาจากแถบภูเขาเอธิโอเปีย ปากน้ำไนล์จะแยกเป็นสองแถวเนื่องจากนับเป็นวลาหลายพันปี น้ำได้พาเอาโคลนมาทับถม จนกลายเป็นสันดอนขึ้น ทำให้แตกเป็นรูปพัดก่อน และไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณนี้จะอุดมสมบูรณ์เป็นพิเศษ เรียกว่า เดลต้า (Delta) ที่ให้เกิดแผ่นดินรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า อียิปต์ล่าง โลเวอร์ อียิปต์ “Lower Egypt” มีเมืองสำคัญ คือ อเล็กซานเดรีย รุ่งเรืองมาแต่ครั้งโบราณ ทางตะวันออกของสามเหลียมเป็นแหลมไซนาย บริเวณที่ขุดคลองสุเอซ มีเมืองท่าชื่อปอตซาอิต ส่วนที่อยู่ใต้เมืองไคโร เรียกว่า อียิปต์บน อัพเปอร์อียิปต์ “Upper Egypt” แถบรุ่มแม่น้ำไนล์และอยู่ระหว่างแม่น้ำไทกรีซ กับยูเฟติส เป็นอู่อารยธรรมโบราณมาราว สามพันถึงห้าพันปีก่อนคริสตกาลมาแล้ว มีพื้นที่ราวสี่แสนตารางไมล์ ปัจจุบันมีพลเมือง 40 กว่าล้านคน


สถาปัตยกรรมของชาวอียิปต์ เป็นเสาสูง ลักษณะแข็งแรงส่วนยอดเสาจะมีฐานรองเป็นรูปเหลี่ยมทำให้ดูแข็งแรงเมื่อรับน้ำหนักของหลังคา ศิลปะการแกะสลักหรือวาดภาพคน บนผนังโบสถ์หรือกำแพงนั้น สามารถทำให้เราทราบถึงการแต่งกายของชาวอียิตป์สมัยนั้นได้เป็นอย่างดี รูปคนของชาวอียิปต์เขียนด้วยเส้นที่เจาะลงบนหินระบายสีสดใสฉูดฉาด เครื่องแต่งกายประดับด้วยผ้าชิ้นเดียวแบบง่ายๆ ที่สุด อาจจะเป็นเพราะอยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง เรื่องราวของอียิปต์ปรากฏตั้งแต่ 4000 ปี ก่อนคริสตกาล สภาพความเป็นอยู่ในระยะแรกๆ อยู่รวมกันเป็นหมู่ โดยมีหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลปกครอง เมื่อขนาดของหมู่บ้านขยายใหญ่ขึ้น จึงกลายเป็นรัฐหรือจังหวัด เรียกว่า โนมิส (Nomes) จนกระทั่งประมาณ 3200 B.C เมนิส (Menes) จากอียิปต์บน ได้รวบรวมรัฐหรือจังหวัดต่างๆ เข้าด้วยกัน แล้วสถาปนาราชวงค์ขึ้นปกครองอียิปต์เป็นครั้งแรก เป็นการเริ่มต้น ประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ (Dynastic Period)

อารยธรรมสำคัญของอียิปต์
แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ คือ
2. การปกครอง
3. ด้านเศรษฐ์กิจ
4. ด้านสังคม




1.การปกครอง
ฟาโรห์ทรงเป็นผู้นำในการปกครอง เป็นแม่ทัพ ผู้พิพากษา ผู้ควบคุมเงินในท้องพระคลัง และผู้นำสูงสุดทางศาสนา เป็นสื่อกลางระหว่างชาวอียิปต์กับเทพเจ้าต่างๆ และชาวอียิปต์เชื่อว่าฟาโรห์ทรงสืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพและทรงเป็นตัวแทนของชาวอียิปต์ เมื่อสังคมอียิปต์เจริญขึ้น ฟาโรห์ทรงแต่งตั้งข้าราชการช่วยงานบริหารประเทศ ตำแหน่งสำคัญ คือ
1) วิเซียร์ (Vizier) เสนาบดี มีหน้ที่ดูแลความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศในด้านการปกครอง การเกษตร การชลประทานและประธานศาลสูงสุด
2) ข้าหลวงตามมณฑล มีหน้าที่เก็บภาษี ประเมินภาษี ในช่วงปลายอาณาจักรเก่า ข้าหลวงมีอิทธิพลมากจนฟาโรห์ โดยเฉพาะราชวงศ์ที่ 12 ต้องหาทางลดอำนาจข้าหลวงเหล่านี้
3) พระ ช่วยงานด้านศาสนา คือ ประกอบพิธีต่างๆ ยิ่งเมื่อฟาโรห์ทรงให้การสนับสนุนจึงให้ยกเว้นหน้าที่บางอย่าง และการเก็บภาษีให้แก่พระ พระจึงยิ่งมีอำนาจและร่ำรวยมากขึ้น ในปลายจักรวรรดิ พระที่นับถือเทพเจ้าอมอน มีที่ดินประมาณ 30 % ของที่ดินอียิปต์ และมีสิทธิ์ในการปกครองมากขึ้น มีสิทธิสอบสวนและตัดสินคดีในวัดของพระอมอน
กฎหมายจะมีระเบียบวิธีทางกฎหมายชัดเจนในการพิจารณาคดี ผู้พิพากษาได้ดำเนินการให้มีการร้องเรียน มีศาลประจำท้องถิ่น และส่งฎีกาไปยังศาลสูง และสุดท้ายซึ่งฟาโรห์จะมีการรายงานทุกคดี รวมทั้งการตัดสินและการลงโทษไปยังฟาโรห์อย่างสม่ำเสมอ วิธีการสอบสวนมักใช้วิธีทรมาน การลงโทษที่ใช้เสมอ คือ การโบย หากเลี่ยงภาษีจะถูกโบย โทษถัดไป มีการตัดอวัยวะ เช่น ตัดจมูก มือหรือลิ้น การเนรเทศไปทำงานตามเหมือง การลงโทษถึงตายมีทั้งแขวนคอ ตัดศีรษะเสียบประจาน เผาทั้งเป็น และหากลงโทษขั้นอกฤษฎ์ คือ การอาบยาทั้งเป็น การเป็นพยานเท็จถือว่ามีโทษถึงตาย หากกระทำผิดเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจให้นำของมาคืน หรือถูกปรับ 2 เท่า หรือ 3 เท่า ของราคา ส่วนคดีแพ่งเรื่องที่ดิน และสืบมรดก ให้เป็นหน้าที่ของ

วิเซียร์
2.ด้านเศรษฐกิจ
2.1 การเกษตรกรรม การเพาะปลูกของอียิปต์ต้องพึ่งน้ำจากแม่น้ำไนล์ เพราะว่าไม่มีฝน ช่วงฤดูร้อนน้ำจะท่วม 3 เดือน จนเมือน้ำลดประมาณเดือนพฤศจิกายนหรือต้นเดือนธันวาคมชาวนาก็เริ่มไถและหว่านพืช แล้วใช้สัตย์ พวกแกะ หรืหมูเหยียบย่ำเมล็ดพืชไห้จม ส่วนการเก็บเกี่ยวก็จะทำกันประมาณเดือนมีนาคมหรืเมษายน พืชที่ปลูกก็มีข้าวสาลี ลูกเดือยหรือผัก ผลไม้ ต้นป่านและฝ้าย ในฤดูแล้งชาวนาจะซ่อมเขื่อน ขุดลอกคลอง ระหว่างฤดูน้ำหลาก ชาวนาอาจจะถูกเกณฑ์ไปช่วยงานในโครงการต่างๆ ของฟาโรห์ ชีวิตของชาวนาอียิปต์เมื่อเทียบกับชาวนาของอาณาจักรอื่นในสมัยเดียวกันมีสภาพดีกว่า
2.2 การค้าขาย นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันแล้ว ยังเป็นวิธีการสำคัญในการแลกเปลี่ยนอารยธรรมระหว่างประเทศ และเป็นสิ่งที่จะให้การศึกษาของคนยุคโบราณได้ การค้าขายเริ่มหลังปี 2,000 ก่อนคริสต์ศักราช ทั้งนี้เนื่องจากที่ตั้งของอียิปต์สะดวกต่อการติดต่อกับดินแดนต่างๆ มีการค้าขายกับกับเกาะครีต (Crete) และดินแดนตะวันออกตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียม เหมืองทองคำในลิเบียซึ่งอียิปต์ควบคุม เป็นแหล่งความมั่งคั่ง สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ ข้าวสาลีและผ้าป่านลินิน ส่วนสินค้าเข้าที่สำคัญ คือ เงิน งาช้างและซุง
2.3 การอุตสาหกรรม ก็มีความสำคัญเท่ากับการค้าขาย ประมาณปี 3,000 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์จำนวนมากเป็นช่างมีฝีมือดี และเป็นศิลปินผู้มีความสามารถ เช่น ช่างทอง ช่างเพชรพลอย คนทอผ้า ช่างทำเครื่องเรือน ช่างต่อเรือ ต่อมามีการสร้างโรงงานขึ้น มีการจ้างคนงานกว่า 20 คน ในโรงงานหนึ่ง และอาจมีการแบ่งงานกันทำ อุตสาหกรรมชั้นนำ คือ อู่ต่อเรือและโรงงานทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องแก้วและสิ่งทอ จากการค้าขายของชาวอียิปต์ที่มีมานานแล้ว จึงทำให้อียิปต์ได้พัฒนาเครื่องมือในธุรกิจต่างๆ ขึ้น คือชาวอียิปต์รู้จักการทำบัญชี ใบสั่งของและใบเสร็จรับเงิน นอกจากนี้ยังมีการทำสัญญาสำหรับทรัพย์สมบัติ เช่น หนังสือสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรและพินัยกรรม แม้จะยังไม่มีเหรียญกษาปณ์ใช้ในการแลกเปลี่ยน แต่ชาวอียิปต์ได้ใช้ห่วงทองแดงหรือทองคำตามน้ำหนักในการแลกเปลี่ยน ซึ่งนับว่าเป็นเงินตราที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก ส่วนชาวนและชาวบ้านยังคงใช้ระบบสินค้าแลกเปลี่ยนกัน (Barter System)
เศรษฐกิจของอียิปต์โบราณ เป็นการร่วมมือกันโดยรัฐบาลเป็นผู้ผูกขาด ฉะนั้นชาวอียิปต์จึงถูกฝึกให้รู้จักทำงานร่วมกันตั้งแต่การดำรงชีวิตร่วมกัน และการชลประทานเพื่อการเพาะปลูก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สภาพสังคมมีความสุขและสนุกสนานร่าเริง ความสนใจของบุคคลและความสนใจของสังคม เป็นสิ่งเดียวกัน กิจกรรมในการผลิตของคนทั้งชาติเป็นรัฐวิสาหกิจใหญ่และรัฐบาลเป็นนายจ้างที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ยังคงปล่อยให้เอกชนริเริ่มกิจกรรมต่างๆ ได้ พ่อค้าทำธุรกิจของเขาเอง ช่างฝีมือจำนวนมากมีสินค้าของพวกเขาเอง และเมื่อเวลาผ่านไป ชาวนาจำนานมากก็ได้เป็นชาวนาเสรี รัฐบาลยังคงเปิดทำเหมืองขุดหินและเหมืองต่างๆ เพื่อสร้างพีระมิด วัด และทำไร่ในที่ดินของฟาโรห์

3.ด้านสังคม
ในอียิปต์ แม้จะมีการแบ่งชนชั้น แต่ก็ไม่มีระบบชั้นที่ถาวร สังคมอียิปต์แบ่งประชาชนออกเป็น 5 ชนชั้น คือ
1. ฟาโรห์
2. อัครมหาเสนาบดีและนักบวช
3. เสมียนตราและข้าราชการสำนักทั่วไป
4. คนงานช่างฝีมือและนักเต้นรำ
5. คนงานแบกข้าวในท้องนา ชาวนาไร่ชาวนา
การจัดเรียงชนชั้นในสังคมอียิปต์ยุคโบราณจะมีลักษณะเป็นรูปพีระมิด นั่นคือฟาโรห์จะอยู่ในตำแหน่งที่เป็นยอดพีระมิดและมีคนงานไร้ฝีมือกับคนธรรมดาทั่วไปเป็นฐานของพีระมิด แต่ในสมัยจักรวรรดิมีทหารอาชีพขึ้นมา เมื่อฟาโรห์มีนโยบายจะขยายอำนาจและอาณาเขต และได้เชลยศึกมาเป็นทาสจึนานมากจากการรบชนะ จึงทำให้อียิปต์มีชนชั้นเพิ่มขึ้นอีก 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นที่ 6 ทหารอาชีพ และชนชั้นที่ 7 ทาส พวกทหารจะถูกเกณฑ์ไปทำงานในเหมืองหินและที่ดินของวัด ต่อมาก็ถูกเกณฑ์เป้นทหารและบ้างก็ไปรับใช้ฟาโรห์ ในแต่ละชนชั้นสามารถเลื่อนไหลได้ มาคงที่ เช่น ในสังคมอินเดีย ในอาณาจักรสมัยเก่า พระและขุนนางมีอำนาจมากอยู่ใต้ฟาโรห์ และในระหว่างสมัยอาณาจักรกลาง สามัญชนเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง พ่อค้าช่างฝีมือและชาวไร่ชาวนา ได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐบาล โดยเฉาะยุคนี้ พ่อค้าและช่างฝีมือมีบทบาทมาก การสร้างอาณาจักรมีผลทำให้เกิดขุนนางชนชั้นใหม่ขึ้น คือ ข้าราชการ (เจ้าหน้าที่) พระก็ได้รับอำนาจมากขึ้น พร้อมกับการเจริญเติบโตของการใช้เวทมนต์ และพิธีกรรมต่างๆ ช่องว่างความเป็นอยู่ระหว่างคนร่ำรวยและคนจนแตกต่างกันมาก ขุนนางที่ร่ำรวยจะอาศัยอยู่ในบ้านตากอากาศที่หรูหรา ติดกับสวนที่มีกลิ่นดอกไม้หอมอบอวลและร่มไม้ อาหารมีจำนวนหลากหลายชนิดและมีมาก เช่น อาหารประเภทเนื้อ ไก่ ขนมต่างๆ ผลไม้ เหล่า องุ่นและของหวานชนิดต่างๆ ภาชนะที่ใช้ใส่ก็เป็นจานทำด้วย อลาบาสาคอร์ ทองคำและเงิน แต่งกายด้วยผ้าราคาแพง และประดับเพชรพลอยราคาสูง ซึ่งตรงกันข้ามกับชีวิตของคนยากจนที่น่าสงสารและขมขื่นมาก บ้านของคนจนในเมืองที่อยู่จะแออัด สร้างด้วยโคลน เครื่องเรือนมีม้านั่ง กล่องและเหยือกดินเผาหยาบๆ บางชิ้น ส่วนชาวนาที่อาศัยในทุ่งนาผืนใหญ่ จะอยู่ในบ้านที่ไม่แออัดเท่าในเมือง แต่มีชีวิตไม่สะดวกสบาย สถานภาพของสตรีชาวอียิปต์ แม้จะห้ามการมีสามีภรรยาหลายคน ปกติสังคมทั่วไปจะเป็นครอบครัวมีสามีภรรยาคนเดียว แม้แต่ฟาโรห์ซึ่งสามารถมีฮาเร็มที่มาสนมและนางบำเรอจำนวนมากอาศัยอยู่ แต่ฟาโรห์ก็มีมเหสีองค์เดียว อย่างไรก็ดีนางบำเรอก็เป็นอาชีพที่มามีเกียรติของสังคม เมื่อเปรียบเทียบสตรีในสังคมโบราณอื่นๆ แล้ว สตรีอียิปต์ยังไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของชายทั้งหมดที่เดียว ภรรยาจะไม่ถูกแบ่งแยก แต่สตรีสามารถมีกรรมสิทธิ์รับมรดกและประกอบธุรกิจได้ ชาวอียิปต์อนุญาตให้สตรีดำรงตำแหน่งกษัตริย์ได้ เช่น พระราชินีเซเบคโนฟรู (Sebeknofru) ปกครอง ในราชวงศ์ 12 และพระราชินีแฮทเชพซุท (Hatshepsut) ในราชวงศ์ที่ 18 เป็นต้น ระบบการศึกษา มีโรงเรียนรัฐบาลไว้ฝึกหัดการเป็นเสมียน เมื่อสำเร็จแล้วนักเรียนสารถบันทึกหลักฐานข้อความ ทำบัญชีและช่วยงานบริหารในงานราชการ เปิดรับสมัครนักเรียนทั่วไป ไม่จำกัดชนชั้น เด็กที่ยากจนที่สนใจก็สามารถเข้าเรียนได้ รัฐบาลเป็นผู้ออกค่าใช่จ่ายใหผู้เรียนหมด ทั้งนี้เนื่องจากรัฐมีความต้อง
การเสมียนที่มีความรู้ความสามารถด้านนี้สูง



การปกครองของอียิปต์
นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งการปกครองของอียิปต์เป็น 3 สมัย คือ
1. สมัยอาณาจักรเก่า หรือ ยุคแรก เรียกว่า โอลด์ คิงดอม “Old Kingdom” (ประมาณปี 3,100 - 2,050 ก่อนคริสต์ศักราช)
2. สมัยอาณาจักรกลาง เรียกว่า มิดเดิล คิงดอม “Middle Kingdom” (ประมาณปี 2,050 - 1,560 ก่อนคริสต์ศักราช)
3. สมัยจักรวรรดิ หรือ ยุคใหม่ เรียกว่า นิว คิงดอม “New Kingdom” (ประมาณปี 1,560 - 1,087 ก่อนคริสต์ศักราช)
ประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์

3200 – 2780 B.C.
เริ่มสมัยราชวงศ์ (Early Dynastic Period)
ราชวงศ์ที่ 1 3200 – 2980 B.C.
ราชวงศ์ที่ 2 2980 – 2780 B.C.
เรื่องราวในราชวงศ์ที่ 1 และราชวงศ์ที่ 2 ปารกฎหลักฐานน้อยมาก ทราบแต่ว่า เมนิส (Menes) – หรือ นาเมอร์ (Namer) รวบรวมชาวอียิปต์ที่กระจัดกระจายอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เข้าด้วยกัน แล้วปกครองเป็นปฐมกษัตริย์ มีเมืองหลวงอยู่ที่อียิปต์บน ชื่อว่า ธีนิส (Thinis)


3780 – 2250 B.C.
สมัยอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom)เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมัยพิระมิด (The Pyramid Period)
เมืองหลวงชื่อ เมมฟิส (Memphis) อยู่อียิปต์ล่าง

ราชวงศ์ที่ 3 2780 – 2680 B.C. สมัย ฟาโรห์โซเซอร์ (Zosor) สร้างพีระมิดชั้นที่ซักการ่าท์
ราชวงศ์ที่ 4 2680 – 2565 B.C. สมัย ฟาโรห์สเนฟรู (Snefru) สร้างพีระมิดที่ดาซูร์และเมดู และฟาโรห์

คูฟู(Khufu) สร้างพีระมิดใหญ่ที่กิเซห์ (Gizeh)
ราชวงศ์ที่ 5 2565 – 2420 B.C. สมัย ฟาโรห์คาเฟร(Khafre) และฟาโรห์เมนคอร์(Menkaure) สร้างพีระมิดและสฟริงห์เพิ่มที่กิเซ สมัยนี้นับว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรเก่าชาวอียิปต์ นับถือ
เทพเจ้า ราหรือ เร เป็นเทพเจ้าสูงสุด และเป็นยุคที่ฟาโรห์มีอำนาจมากที่สุด
ราชวงศ์ที่ 6 2420 – 2258 B.C. สมัยนี้ขุนนางและข้าหลวง(Nomarchs) ที่อยู่ตามท้องถิ่นต่างๆอำนาจ มาก

ขึ้น พากันแข็งข้อต่อฟาโรห์ ทำให้บ้านเมืองเริ่มระส่ำระสาย
2256 – 2040 B.C.
ระยะเวลาราชวงศ์ไร้อำนาจครั้งที่ 1 (Fist Interregnum or Intermediate Period)
ราชวงศ์ที่ 7 – 10 สมัยนี้ขุนนางและข้าหลวงล้มรัฐบาลฟาโรห์โดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นอันหมดสมัยการสร้าง

พีระมิดไปด้วย ฟาโรห์ถูกเชิดเป็นหุ่น พวกขุนนางและข้าหลวงมีชีวิตอยู่สุขสบายเท่าฟาโรห์
ราชวงศ์ที่ 7 – 8 เมืองเมมฟิส ยังเป็นศูนย์กลางสำคัญของอำนาจ ต่อมาใน
ราชวงศ์ที่ 9 - 10ย้ายไปอยู่ที่เมือง เฮอราคลีโอโปลิส (Herakleopolis) ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองเมมฟิส
สมัยอาณาจักรเก่านี้ อียิปต์เหนือและใต้ได้รวมกันกันเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน โดยนาร์เมอร์

(Narmer) และตั้งตนเป็นฟาโรห์ ฟาโรห์ถือว่าพระองค์เป็นโอรสของสุริยเทพ ห้ามอภิเษกกับ
สตรีอื่นนอกจากพระขนิษฐาของพระองค์เอง โดยเกรงว่าสายโลหิตของเทพเจ้าจะไม่บริสุทธิ์
อีกทั้งจะเป็นการกำจัดให้มีเพียงราชวงศ์เดียว และป้องกันการอ้างสิทธิในราชสมบัติและป้อง
กันการปฎิวัติให้ลดน้อยลง อำนาจและหน้าที่ของฟาโรห์ตามกฎหมายโบราณของอียิปต์ พระองค์มีอำนาจทางการเมืองและทางศาสนา ส่วนวิเซีย (Vizier) เสนาบดี เป็นผู้ช่วยทางการเมือง เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เมืองเมมฟิส (Memphis) การปกครองยุคนี้ ฟาโรห์ไม่มีกองทัพประจำชาติ รัฐบาลไม่มีนโยบายรุกรานชาติใด แต่ละท้องถิ่นมีกองทหารของตนเอง พลเรือนเป็นผู้ถูกบังคับบัญชา ถ้ามีศัตรูมารุกรานก็จะเกณฑ์ทหารมาป้องกันอาณาจักรเฉพาะกิจ ปกติสังคมของอาณาจักรเก่าของอียิปต์จะมีแต่ความสงบสุข แรงงานของชาวอียิปต์จะอุทิศให้แก่การสร้างงานสาธารณประโยชน์ เช่น สร้างพีระมิด วัดต่างๆ หรือขุดหินในเหมืองหิน เป็นต้น รัฐบาลจะได้แรงงานและผลผลิตจากความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ ต่อมาในปลายสมัยอาณาจักรเก่าก็ได้พบกับการล่มสลาย เนื่องจากสาเหตุดันนี้ คือ
1) ภาษีของรัฐที่เก็บได้เริ่มหมด เนื่องจากฟาโรห์ได้ลงทุนในโครงการใหญ่ๆ เช่นการ สร้างพีระมิด เช่น พีระมิดคูฟู หรือ คิออปส์ (Khufu หรือ Cheops) ที่เมืองกิเซ เหล่านี้ไม่เพียงเป็นภาระหนักต่อค่าใช้จ่าย แต่ประชาชนต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปมาก ทำให้ประชาชนยากจนและเสียขวัญกำลังใจมาก
2) ขุนนางตามจังหวัดต่างๆ กำลังมีอำนาจมากขึ้น จนทำให้อำนาจส่วนกลางหมดไป จึงทำให้ปลายสมัยอาณาจักรเก่าเป้นกลียุค ขุนนางท้องถิ่นต่างแข่งขันกันสร้างรัฐบาลของตนขึ้น ทำให้สภาพการเมืองเลวลง มีโจนผู้ร้ายชุกชุมทั่วไปในอาณาจักร และมีการโจมตีมาจากเผ่าต่างๆ จากจากทะเลทราย จนกระทั่งมีผู้นำชาวอียิปต์สามารถปราบยุคเข็ญและตั้งราชวงศ์ที่ 11 ขึ้นมาปกครองอียิปต์และตั้งเป็นอาณาจักรกลางขึ้นมา




การแต่งกายของชาวอียิปต์ในยุคนี้
สำหรับเครื่องแต่งกายของกษัตริย์นั้น ใช้ผ้าที่หรูหรากว่าคนธรรมดา คือใช้ผ้าที่ทอด้วยด้ายทอง และมีลักษณะพิเศษ คือจับจีบไว้ข้างหน้า เช่น รูปวาดของพระเจ้าอเมโนฟิสที่ 2 แต่งกายด้วยผ้าที่หรูหรา สวมมงกุฎรูปหมวกแก็ป ใส่รองเท้าแตะ ผู้ชายประกอบด้วยการนุ่งผ้าสั้นๆ ใช้ผ้าพันรอบตะโพกคาดเอว ทิ้งชายไว้ข้างหน้า ไม่สวมเสื้อ เป็นเครื่องแต่งกายของคนทำงานเรียกว่า ลอยน์ โคลท “Loin cloth” หรือไทรแองกูล่า แอพพร่อน “Triangular apron” มีลักษณะคล้ายผ้าขาวม้าหรือผ้าเตี่ยว ส่วนเครื่องแต่งกายของผู้หญิงในสมัยนี้ ก็แต่งกายเช่นเดียวกับผู้ชาย คือ ใช้ผ้าชิ้นเดียว แต่มีทรงแคบคล้ายปลอก เรียกว่า ชิทกาวน์ “Sheath gown” เริ่มแต่ใต้อกยาวถึงข้อเท้า มีสายสะพายเพื่อดึงไว้ที่ไหล่ทั้ง 2 ข้าง ในยุคนี้เริ่มมีการสร้างพีระมิดที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และได้บันทึกเรื่องราวไว้ เฮโรโตตัส ชาวกรีก ผู้เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ เคยไปอียิปต์ ได้หลักฐาน ว่า ชาวอียิปต์โบราณใช้อักษรเป็นรูปภาพ หรือ ไฮโรกลิฟ “Hieroglyphs” เขียนไว้บนกระดาษที่ทำจาก กก ปาปิรุส ซึ่งเป็นต้นแบบของคำว่า เปเปอร์ “paper” นั่นเอง อียิปต์โบราณนับถือธรรมชาติเป็นเทพเจ้า จึงมีการสร้างเทวรูปและวิหารเทพเจ้าต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ชาวอียิปต์มีความเชื่อว่าตายแล้วจะได้เกิดใหม่ ฟาโรห์จึงสร้าง พีระมิด ไว้เป็นที่เก็บพระศพของตนเอง พระศพที่เก็บไว้นี้ได้อาบน้ำยากันเน่าเปื่อย อยู่ได้หลายปี เรียกว่า “มัมมี่” ในที่เก็บพระศพจะบรรจุทรัพย์สมบัติอันมีค่า และบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ด้วย เมื่อมีการขุดพบจึงทำให้ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ยุคโบราณของอียิปต์ที่เจริญมาก่อนอาณาจักรโรมัน ซึ่งมีอำนาจเหนืออียิปต์ต่อมาภายหลัง ยุคใหม่ต้องตกอยู่ในอำนาจของประเทศอื่น และตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เพิ่มได้เอกราชเมื่อ ค.ศ. 1922 เลิกการปกครองแบบระบบกษัตริย์ ใช้ระบบสาธารณรัฐมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ขณะนี้กำลังมีปัญหาพิพาทเรื่องดินแดนแหลมไซนายกับอิสราเอล และได้ทำสันติภาพได้สำเร็จ คืนดินแดนแหลมไซนายให้อิสราเอล เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1979 ตรงกับ พ.ศ. 2522 นี้เอง หลักฐานทางด้านการแต่งกายของอียิปต์ที่ได้จากซากศพ และวาดภาพในสมัยนี้ ชายก็ยังใช้ผ้าลอยน์โคลท “Loin cloth” อยู่เช่นเคย แต่การนุ่งหลวมกว่าในระยะแรก และรู้จักลงแป้งผ้าให้แข็ง ส่วนการแต่งกายของฟาโรห์ ก็ยังคงมีหลักฐานที่เป็นพระศพในพีระมิด

สมัยอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom)
เมืองหลวงย้ายมาอยู่ที่ (Thebes) อยู่ที่อียิปต์บน
ราชวงศ์ที่ 11 – 12 สมัยนี้ฟาโรห์มีอำนาจขึ้นมาอีก การเขียนการบันทึกสมัยนี้นับว่าเจริญสูงสุด ฟาโรห์หลาย

พระองค์ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นครองราชย์ตามลำดับดังนี้
- อเมนทูโฮเทปที่ 2 (AmentuhotepII)
- อเมนเนมมีสที่ 1 (AmenemmesI)
- เซสซอสทรีสที่ 1 (SesostrisI)
- อเมนเนมมีสที่ 2 (AmenemmesII)
- เซสซอสทรีสที่ 2 (SesostrisII)
- เซสซอสทรีสที่ 3 (SesostrisIII)
- อเมนเนมมีสที่ 3 (AmenemmesIII)
- อเมนเนมมีสที่ 4 (AmenemmrsIV)
- พระนางเซเบค นีเฟอรูรา (Queen Sebek Neferura)
ปลายราชวงศ์ที่ 12 อำนาจของฟาโรห์เสื่อมลงอีก เนื่องจากฟาโรห์องค์ก่อนๆ พากันเอาใจขุนนางซึ่งยัง

มี อำนาจอยู่ตามหัวเมือง โดยการพระราชทานที่ดินให้พวกขุนนางจนร่ำรวยมากขึ้น พวกขุนางมี
ชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย แม้แต่ในการฝันศพของตนเอง ก็ใช้สกัดหน้าผาใกล้ๆ กับที่ดินของตน
เยี่องฟา-โรห์ทุกอย่าง สมัยนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมัยฟิวดอล (feudal) ในที่สุด ก็เกิดสมัย
ที่เรียกว่า ราชวงศ์ไร้อำนาจครั้งที่ 2
1786 – 1570 B.C.
ระยะเวลาราชวงศ์ไร้อำนาจครั้งท่ 2 (Second Interegnum or Intermediate Period)
ราชวงศ์ที่ 13 – 14 1786 – 1680 B.C.
ราชวงศ์ที่ 15 – 17 1780 – 1570 B.C. สมัยนี้อียิปต์ถูกพวกฮิกโซสิ (Hyksos) ชนเผ่าเซมิติคพวกหนึ่งอพยพ

มาจากเอเชียไมเนอร์ เข้ามารุกรานเป็นครั้งแรกและมีอำนาจเหนืออียิปต์ถึงสองศตวรรษ
(1780 – 1580 B.C.) สมัย นี้ยังคงสร้างสุสานสกัดหน้าผาแทนการสร้างพีระมิด

สมัยนี้ฟาโรห์ได้ย้ายเมืองหลวงจากเมมฟิสไปที่เมืองธีบส์ (Thebes) รัฐบาลรับผิดชอบมากกว่าสมัยอาณาจักรเก่า แต่ฟาโรห์ราชวงศ์ที่ 11 นี้ก็ไม่สามารถยึดอำนาจของฟาโรห์คืนจากขุนนางต่างๆ มาโดยเด็ดขาด ต่อมาฟาโรห์ราชวงศ์ที่ 12 (ปี 1990 – 1786 ก่อนคริสต์ศักราช) ได้ปกครองโดยพยายามผูกมิตรกับชนชั้นกลาง ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ พ่อค้า ช่างฝีมือ และชาวนา จึงทำให้สามารถลดฐานะและอำนาจของขุนนางลงได้ และสามารถวางรากฐานทางเศรษฐกิจให้รุ่งเรือง สมัยราชวงศ์ที่ 12 นี้อียิปต์มีความก้าวหน้าทางความยุติธรรม ทางสังคม และความเจริญทางปัญญา มีงานสาธารณะที่เป็นประโยชน์ ต่อประชาชนมากกว่าเดิม เช่น โครงการระบายน้ำและการชลประทาน แทนการสร้างพีระมิด รัฐบาลของฟาโรห์ราชวงศ์ที่ 1 นี้ได้ทำให้ศาสนาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยขยายศาสนาไปสู่ระดับประชาชน โดยสอนว่าศาสนานี้สามารถช่วยให้พวกเขารอดพ้นได้ ซึ่งวิธีการนี้ประชาชนไม่เคยได้รับมาก่อนเลย ยุคนี้ศาสนาเน้นความประพฤติทางศีลธรรมที่เหมาะสมแทนการอาศัยความร่ำรวย ฉะนั้นราชวงศ์นี้จึงถูกขนานนามว่าเป็นยุคคลาสสิคหรือยุคทองของอียิปต์ ในปลายสมัยอาณาจักรกลาง ได้เกิดความวุ่นวายภายในอียิปต์และถูกโจมตีจากต่างชาติ จากหลักฐานซึ่งมีเหลือน้อยมาก แต่ก็แสดงให้เห็นว่าช่วงนี้ได้เกิดความวุ่นวายจากการปฏิวัติซ้อนของพวกขุนนาง อำนาจของฟาโรห์ถูกลดลงอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออาณาจักรอียิปต์ภายในอ่อนแอและวุ่นวาย อาณาจักรกลางก็ถูกทำลายไปโดยถูกพวกฮิคโซสเข้าโจมตีอย่างง่ายดาย ฮิคโซสเป็นอนารยชนผสมอยู่ทางทิศ ตะวันตกของอาณาจักรเปอร์เซีย ทั้งนี้เนื่องจากพวกฮิคโซสใช้ม้าและมีรถศึกในการรบ จึงทำให้ได้เปรียบต่อชาวอียิปต์ สิ่งที่พวกฮิคโซสนำมามาให้แก่ชาวอียิปต์ คือ วิธีการรบแบบใหม่ คือใช้ม้าและรถศึก ฮิคโซสยังได้นำวิธีการปกครองแบบราชการมาใช้ ช่วยทำให้ชาวอียิปต์ลืมความแตกต่างกันและรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ขณะนั้นมีเจ้าปกครองของอียิปต์ทางเหนือ ได้ก่อการกบฏพวกฮิคโซส โดยมีชาวอียิปต์ใต้ส่วยใหญ่เข้ารวมด้วยกับฝ่ายกบฏ ในที่สุดปี 1560 ก่อนคริสต์ราช ชาวอียิปต์ได้รบชนะพวกฮิคโซส วีรบุรุษของอียิปต์ คือ อาโมส (Ahmose) ได้ขับไล่พวกฮิคโซสออกจากอียิปต์ทั้งหมด ได้ตั้งราชวงศ์ที่ 18 และสาปนาตนเองเป็นฟาโรห์ สมัยนี้ อาโมส ทรงได้สร้างกองทัพที่แข็งแกร่งที่สุดในอียิปต์เท่าที่เคยมีมา เกิดความรักชาติที่ใหญ่ยิ่งระหว่างชาวอียิปต์ในการต่อสู้ขับไล่ฮิคโซส ฉะนั้นจึงทำให้มีความจงรักภักดีในท้องถิ่นและลดอำนาจของขุนนางลงไป ความเจริญรุ่งเรืองในเครื่องแต่งกายของชาวอียิปต์ได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง ผู้ชายเริ่มใส่ผ้านุ่งหลายชั้น ซ้อนกัน แต่สั้นยาวลดหลั่น ทำให้ดูเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนชั้นในสุดนุ่งกางเกงขาสั้นๆ เสื้อยาวถึงข้อเท้า เสื้อของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ทรงแคบเป็นปลอกอยู่เช่นเดิม ในระยะกลางของยุคนี้ เกิดความไม่สงบขึ้นภายในบ้านเมือง คือ มีสงครามระหว่างเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง การแต่งกายจึงพลอยหยุดชะงักไปด้วยชั่วระยะหนึ่ง

สมัยอาณาจักรใหม่ (The New Kingdom)
เมืองหลวงอยู่ที่ ธีบส์ (Thebes) เช่นเดียวกับสมัย
อาณาจักรกลาง
ราชวงศ์ที่ 18 1570 – 1304 B.C. อาโมส (Ahmose) ขุน
นางแห่งธิบส์ได้ขับลาพวกฮิคโซสออกจากอียิปต์
ได้สำเร็จ ก็สถาปนาราชวงศ์ที่ 18 ขึ้นปกครอง
อียิปต์ ฟาโรห์ที่สำคัญ เรียงตามลำดับดังนี้
- อาโมส (Ahmose) 1570 – 1532 B.C.
- อเมนโฮเทปหรืออเมนโนฟิสที่ 1(Amenhotep or Amenophis I) – 1532 – 1511 B.C.
- ธุทโมสที่ 1 – 2 (Thutmose I – II) 1511 – 1490 B.C.
- ฮัทเชพซุท (Hatshepsut) ประมาณ 1490 – 1470 B.C.
- ธุทโมสที่ 3 (Thutmose III) 1490 – 1437 B.C.
- อเมนโฮเทปหรืออเมนโนฟิสที่ 2 (Amenhotep or Amenophis II)- 1437 - 1410 B.C.
- อเมนโฮเทปหรืออเมนโนฟิสที่ 3 (Amenhotep or Amenophis III)-1400 - 1362 B.C.
- อเมนโฮเทปหรืออเมนโนฟิสที่ 4 (Amenhotep or Amenophis IV) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
อิกนาตัน (Ikhnaton) 1362 - 1334 B.C.
- ตุตันคาเมน (Tutankhamen) 1346 - 1334 B.C.
- โฮเรมเฮป (Horemheb)1334 - 130 B.C.
ราชวงศ์ที่ 19 - 20 1304 - 1085 B.C. เป็นสมัยราเมซิสหรือ
รามเลสที่ 1และ เซติที่ 1(Rameses I,Seti I)
รามเมซิสหรือรามเลสที่ 2 (Rameses II)
เมอเรนพทาห์ (Meranptah)
รามเมซิสหรือรามเลสที่ 3 (Rameses III)
ในสมัยอาณาจักรใหม่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สมัยจักรวรรดิ (Empire) เป็นสมัยที่อียิปต์ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในสมัยฟาโรห์ทัตโมซิสที่ 3 พระองค์ ได้ขยายดินแดนทางภาคเหนือไปถึงปาเลสไตร์ ฟินิเชีย จนถึงซีเรีย ทางด้านตะวันออกคลุมไปทั่วชายฝั่งทะเลแดงทั้งหมด ทางใต้ขยายอาณาเขตไปถึงแก่งน้ำตกแก่งที่ 1 การก่อสร้างในสมัยนี้นิยมเจาะภูเขาเพื่อฝังพระศพฟาโรห์ เรียกว่า หุบเขากษัตริย์ (Valley of The Kings) นอกจากฝังพระศพไว้ในหุบเขาแล้ว สมัยนี้ยังหันมาสร้างวิหารต่างๆ มากมาย
สมัยฟาโรห์อาโมสนับเป็นการเริ่มต้นสมัยจักรวรรดิ สมัยนี้มีราชวงศ์ปกครองอียิปต์ คือราชวงศ์ที่ 18,19 และ 20 นับเป็นยุคแห่งลัทธิจักรวรรดินิยม อียิปต์ต้องการขยายอำนาจไปทั่วดินแดนนอกอียิปต์
สาเหตุที่ทำให้อียิปต์เปลี่ยนแปลงนโยบายสันติสุขและโดดเดี่ยว มาเป็นการสร้างลัทธิจักรวรรดินิยม คือ
7. ความฮึกเหิมของกองทหารที่ได้รบชนะขับไล่พวกฮิคโซส ซึ่งยิ่งใหญ่มากที่สุดในยุคนั้น ทำให้ชาวอียิปต์ต้องการจะรบชนะอีกต่อๆ ไป 2. กองทหารที่ใหญ่โตที่ขับไล่พวกฮิคโซสออกจากอียิปต์ ถูกยกเลิกไปทันทีจึงต้องการให้ฟาโรห์อาโมสและฟาโรห์องค์ต่อๆ มา ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ฟาโรห์องค์ต่อๆ มา ได้เริ่มโจมตีอาณาจักรปาเลสไตน์และอ้างสิทธิเหนือซีเรีย และขยายดินแดนไปจนถึงลุ่มแม่น้ำ ยูเฟรติสทางด้านตะวัยออก และทางใต้ถึงแก่งน้ำตก(cataracts) ในอียิปต์ของแม่น้ำไนล์ แต่จุดอ่อนของการขยายอาณาเขต คือไม่สามารถนำผู้แพ้ให้มาจงรักภักดีได้ จึงทำให้เกิดกบฏทั่วไปในดินแดนต่างๆ เช่น ที่ซีเรีย แม้ว่าฟาโรห์องค์ต่อมาจะสามารถปราบพวกกบฏและรวมอยู่ใต้อาณาจักรได้ระยะหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถขจัดอันตรายได้ ประกอบกับทรัพย์สินที่ยึดมาได้จากข้าศึกกลับทำให้ทหารอียิปต์โกงกัน และใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ประกอบกันการก่อกบฏเสมอๆ ของผู้แพ้สงคราม ยิ่งทำให้อียิปต์ต้องไปปราบและทำให้อ่อนแอไปเรื่อยๆ และฟื้นตัวยาก ในศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์ได้สูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ที่ตีมาได้ไป

การปกครองของสมัยอาราจักรเก่าเน้นความสันติสุขและโดดเดี่ยวไม่รุกรานใคร แต่สมัยจักรวรรดิปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กองอำลังของทหารเป็นรากฐานของการปกครองของฟาโรห์ กองทหารอาชีพจะข่มขู่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเสมอ ขุนนางเก่าจะกลายเป็นมหาดเล็ก หรือ ข้าราชการภายใต้การปกครอง
ของฟาโรห์ กลางศตวรรษที่ 10 ถึงเกือบปลายศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์ของพวกอนารยชนได้ดำรงตำแหน่งฟาโรห์ของอียิปต์ จากนั้นก็ตามด้วยฟาโรห์เชื้อสายเอธิโอเปียหรือนูเบีย (Ethiopian หรือ Nubian) ซึ่งมาจากทะเลทรายทางตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ต่อมาปี 670 ก่อนคริสต์ศักราช พวกแอสสิเรียนได้มาโจมตี รบชนะอียิปต์และปกครองอียิปต์อยู่ได้ 8 ปี คือปี 662 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์ได้รับเอกราชและได้รื้อฟื้นวัฒนธรรมของตนให้เจริญขึ้นใหม่อีก แต่อาณาจักรจักรวรรดิของอียิปต์ก็ได้สิ้นสุดลงในปี 525 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่ออียิปต์ถูกชาวเปอร์เชียโจมตีและพ่ายแพ้แก่ชาวเปอร์เชียไป จากนั้นอารยธรรมอียิปต์ก็ไม่สามารถฟื้นขึ้นมาอีกเลย ฟาโรห์ที่สำคัญที่ได้ขยายอาณาเขตกว้างขวางต่อจาก ฟาโรห์อาโมสที่ 1 ของสมัยจักรวรรดิ มีดังนี้
1. ธุทโมสที่ 1 (Thutmose) ได้ขยายดินแดนไปทางใต้จนถึงแก่งที่ 4 (fourth cataract) และได้สู้รบต่อในปาเลสไตน์และซีเรีย
2.ราชินีฮัทเชพซุท(Hatshepsut) ในสมัยราชวงศ์ที่ 18 ระยะแรกทรงปกครองในนามธุทโมสที่ 3 พระสวามีซึ่งทรงพระเยาว์ ต่อมาก็ปกครองเองเป็นฟาโรห์ ทรงเป็นราชินีที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงมีข้าราชการที่สำคัญเป็นผู้ช่วยเหลือและทรงสร้างวิหารที่ยิ่งใหญ่ที่ เดร์ เอล-บารี่ (Dier el-Bahri) และทรงค้าขายกับต่างประเทศแถบพุนท์ (Punt) คงเป็นแถบโซมาลีแลนด์ในแอฟริกา
3.ธุทโมสที่ 3 หรือ “นโปเลียนแห่งอียิปต์” (Thutmose III, Napoleon of Egypt) ทรงได้ขยายอำนาจเด็ดขาดและปกครองต่อมา ทรงขยายอำนาจไปถึงปาเลสไตน์และซีเรียจนสิ้นพระชนม์
จักรวรรดิอียิปต์ในสมัยของพระองค์ได้ขยายการปกครองไปครอบคลุมตั้งแต่ซีเรียจนถึงซูดานในปัจจุบัน บางเขตก็ปกครองเด็ดขาด เช่น ลิเบีย บางแห่งก็ปกครองเป็นดินแดนในอาณัติ เช่น ปาเลสไตน์ ซีเรีย คือ ให้เจ้าของท้องถิ่นปกครอง แต่มีข้าหลวงชาวอียิปต์ควบคุมอยู่ที่เมืองกาซา (Gaza) ทรงใช้วิธีนำลูกหลานของผู้ใต้อำนาจการปกครองเป็นตัวประกันหรือรับการอบรมในอียิปต์ สมัยของพระองค์ อียิปต์ได้ติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้น ทรงวางระเบียบให้อาณาจักรอียิปต์มั่นคงต่อมาอีกหลายศตวรรษ
4. อเมนโฮเทปที่ 3 (Amenhotep III) สมัยนี้ราชวงศ์ที่ 18 เจริญสูงสุด อยู่ในภาวะสงบสุข การค้ารุ่งเรือง มีการก่อสร้างสถานะที่ราชสำนัก รูปสลักใหญ่โต วิหารสำหรับทำพิธีพระศพ วิหารบูชาเทพเจ้าที่งดงามที่สุด คือที่ลุกซอร์ (Luxor)
5. อเมนโฮเทปที่ 4 (Amenhotep IV) พระองค์ทรงหันมานับถือเทพเจ้าองค์เดียว คืออตอม แทนเทพเจ้าอมอน เป้นการปฏิรูปศาสนาและได้ทรงเปลี่ยนชื่อของพระองค์มาเป็นอัคนาตันหรืออิก
(Akhenaton,Ikhanaton) แปลว่า พระเจ้าอตอมพอใจ (Aton is satisfied) และทรงย้ายเมืองหลวงจากธีบส์ (Thebes) ไปเมืองวัด (a temple city) ปัจจุบัน คือ เมืองแทลอัล-อมาร์นา (Tellal-Amarna) แต่หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ฟาโรห์องค์ต่อมา คือ ตุตันคาเมน (Tutankhamen) ก็ทรงหันไปนับถือเทพเจ้าอมอนอีกตามเดิม
6.ตุตันคาเมน (Tutankhamen) ทรงเป็นที่รู้จัก กันมากในปัจจุบัน เพราะมีการค้นพบสุสานของพระองค์ในสภาพเกือบสมบูรณ์ ที่สุสานกษัตริย์(Valley of the kings) ค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ ชื่อ โฮเวร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter ค.ศ. 1873 – 1939) ปี ค.ศ.1922 ทำให้เราได้รับรู้เรื่องราวของอียิปต์ในยุคนั้นอย่างดียิ่ง รวมทั้งมัมมี่และของมีค่าในสุสาน
7.ฟาโรห์รามเลสที่ 2 (Rameses II) เป็นสมัยที่ยิ่งใหญ่ช่วงสุดท้ายของอียิปต์ ทรงรวมอำนาจภายในและภายนอกอียิปต์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระองค์ได้เสด็จไปทำสงครามแถบซีเรียและปาเลสไตน์ เนื่องจากพวกฮิปไทท์บุกรุก ครั้งนั้น ฟาโรห์รามเลสที่ 2 ทรงได้นำชาวยิวมาเป็นเชลยของอียิปต์ และมีเรื่องราวปรากฏในคัมภีร์ของศาสนายิวเกี่ยวกับการหนีของชาวยิวกลับไป ที่เรียกว่า เอคโซดัส (Exodus) ไปยังดินแดนที่พระเจ้าประทาน คือ ปาเลสไตน์ ต่อมาฟาโรห์รามเลส ได้ทรงทำสัญญาตกลงกับพวก ฮิปไทท์ โดยให้พวกฮิปไทท์ครองแถบซีเรีย ส่วนพระองค์ปกครองแถบปาเลสไตน์ นับเป็นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรทางการทูต ครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกมนุษย์ ฟาโรห์รามเลสทรงยกทัพไปตีดินแดนทางใต้ของอียิปต์แถบนูเบีย การรบของพระองค์ ทุกครั้งมีหลักฐานจารึกไว้ตามกำแพงวิหารสำคัญที่สร้างในสมัยของพระองค์
นอกจากนี้ ความยิ่งใหญ่ของอาราจักรรามเลสที่ 2 เห็นได้จากการสร้างเสริมต่อเติมโบสถ์วิหาร รูปสลัก ที่เมืองต่างๆ เช่น เมืองคาร์นัด ลุกซอร์ ธีบส์ อไปดอส เมมฟิส อบูซิมเบล อย่างไรก็ดี ล้วนแสดงถึงความเจริญสูงสุดของอียิปต์ในสมัยของพระองค์ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ ชื่อ ทานิส (Tanis) ที่ดินดอนสามเหลี่ยม ในสมัยของพระองค์ พระตามวิหารต่างๆ เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลและร่ำรวยมากจนต่อมาได้คุมอำนาจฟาโรห์ ทำให้การปกครองของฟาโรห์อ่อนแอและตกอยู่ใต้การปกครองของชนชาติต่างๆ ในศตวรรษที่ 10 จนสิ้นจักรวรรดิอียิปต์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว รามเลสที่ 2 นับเป็นฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย และได้รับการยกย่องว่า “เป็นกษัตริย์แห่งบรรดากษัตริย์ทั้งหลาย”



ในยุคนี้เสื้อผ้าของชายหญิงได้เปลี่ยนไปเพราะเกิดข้อพิพาทระหว่างดินแดนใกล้เคียง และชาวซีเรียเคยยกทัพมาตีอียิปต์ ทำให้ชาวอียิปต์เลียนแบบอย่างการแต่งกายจากชาวซีเรียบ้าง เช่น การแต่งกายชุดยาวๆ กรอมเท้า เสื้อคลุมไหล่ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งแต่เดิมชาวอียิปต์ใช้เสื้อคลุมไหล่ไว้เพียงข้างเดียว การใช้ผ้าคลุมไหล่และแขนคล้ายเสื้อทำให้ดูไม่เปลือยอย่างแต่ก่อน แต่ผ้าที่ใช้คลุมนี้ก็บางและลงแป้งจนแข็งทำให้เห็นรูปร่างได้ถนัดตลอดกาย ส่วนผ้านุ่งนิยมจีบเช่นเคย เสื้อชุดดังกล่าวนี้นิยมกันมาราว 20 ปี ของยุคใหม่ “New Kingdom” ฟาโรห์ในยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงการนับถือเทพเจ้าคือ ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 (Amenhotep IV) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อิกนาตัน (Ikhnaton) ในระหว่างปี 1362 – 1334 ก่อนคริสตกาล พระองค์หันมานับถือเทพเจ้าอตอมหรือนับถือพระอาทิตย์ แทนการนับถือเทพเจ้าหลายองค์ พระราชินีของพระองค์ฉลองพระองค์ด้วยชุดยาว มีการจีบเป็นชั้นๆ ทำให้ผู้หญิงดูนิ่มนวลขึ้น ลักษณะรูปของศีรษะนิยมให้งอนและทุย ภาพตามผนังเป็นภาพของชาวบ้าน ไม่ใส่รองเท้าเพราะถือว่าเป็นของสูงใช้เฉพาะฟาโรห์ และพระเท่านั้น การแต่งกายของพระ แต่งเหมือนกับฟาโรห์ แต่มีลักษณ์ที่ต่างกันคือ พระจะห่มหนังเสือที่งตัวและมีหางของมันติดอยู่ด้วย
อียิปต์แบ่งเป็น 2 ส่วนดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น คือส่วนอียิปต์บน (Upper Egypt) และอียิปต์ล่าง (Lowper Egypt) ชน 2 ภาคนี้จะมีสัญลักษณ์ที่ต่างกัน ซึ่งสังเกตได้คือ
1. พวก (Upper Egypt) สวมหมวกสีขาว
2.พวก (Lowper Egypt) สวมหมวกสีแดง และหน้าหมวกประดับด้วยงู
การแต่งกายยุค New Kingdom ในช่วงระยะ 20 ปี สวยงามมาก แต่มาตกตอนปลายสมัย เสื้อผ้าที่นิยมสีสันสดใสฉูดฉาด และมีจีบ ลบเลือนหายไปหมด เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากชาวเอเชียบ้าง ชาติที่อยู่ใกล้เคียงบ้าง เช่น การใช้ครุย ใช้ดอกไม้ เพชรพลอยสีต่างๆ เช่น หินสีน้ำเงิน ทอง นำมาทำสายสร้อย คาดเอวและประดับที่คอ ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่สำคัญที่สุด นำมาใช้แทนการจับจีบที่นิยมมาแต่โบราณ
เครื่องสำอาง ชาวอียิปต์ เริ่มนิยมใช้แป้ง น้ำหอม น้ำมัน และเครื่องประดับผม ใช้น้ำมันชโลมผม ทาคิ้วสีเข้ม รู้จักใช้อายเชโดสีเขียว ชาย ไม่มีหนวด แต่ถ้ามีงานพิธีสำคัญๆ จะใส่หนวดปลอม ผม ใช้วิกทำด้วยขนสัตย์ หรือผมปลอม หรือฝ้าย ประดับด้วยงู ในระยะปลายของยุค New Kingdom หญิงทำทรงผมเป็นรูปสามเหลี่ยม เครื่องประดับ ที่ประกอบการแต่งกาย ใช้พัดขนนก สร้อยทอง หรือหินสีเงินเป็นเส้นใหญ่ คล้องคอหรือเอว กระจก สวมรองเท้าแบบฟาโรห์ทำจากต้นปาล์ม สรุป ระยะเวลาอันยาวนานของอียิปต์ ปรากฏว่าเสื้อผ้าได้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก เหตุผลคือ ชาวอียิปต์เป็นผู้เคารพนับถือขนบธรรมเนียมเก่าๆ ไม่ค่อยยอมเปลี่ยนตามสมัย ซึ่งหลักฐานการแต่งกายจากมัมมี่ในพีระมิด เป็นระยะเวลาพันๆ ปี ก็ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างใด นอกจากจะเอาอย่างจากเพื่อนบ้านบ้างเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

สรุป
3. รู้จักลงแป้งผ้า
4. รู้จักทำผมปลอม (Wig)
5. ใช้โลหะแต่งกาย
6. นิยมงู
7. รู้จักใช้ปาล์มมาทำรองเท้า
8. รู้จักใช้เครื่องประดับ สำอาง
9. รู้จักการจับจีบ
10. หลักฐานการแต่งกายจากมัมมี่


ศาสนาและความเชื่อ
นักปราชญ์ชาวอียิปต์ส่วนมากเป็นพวกพระ (Priests) แม้ว่าพวกพระจะถือเรื่องโชคลาง แต่ก็เป็นผู้วางรากฐานให้แก่ วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไว้อย่างมาก การก่อสร้างพีระมิดและวิหารต่างๆ ล้วนใช้การคำนวณอย่างแม่นยำ การทำมัมมี่ ประดิษฐ์นาฬิกาแดด นาฬิกาน้ำ ปฏิทิน การใช้ด่างรักษาแผล การทำศัลยกรรม จนถึงเรียนรู้เรื่องสมองที่มีอำนาจควบคุมร่างกาย นับว่าเป็นวิทยาการที่ก้าวหน้าสูงสุดที่มีมาก่อนชาติใดๆ โดยเฉพาะชาติที่อยู่ในดินแดนอันห้อมล้อมไปด้วยความแห้งแล้ง เช่น อียิปต์
บนฝั่งแม่น้ำไนล์ทางทิศตะวันออกมีทิวเขายาวเหยียด เมื่อรุ่นอรุณพระอาทิตย์ขึ้น ดวงอาทิตย์จะโผล่ขึ้นมาระหว่างภูเขา ซึ่งเป็นภาพที่ติดตาชาวอียิปต์มานาน จึงมีการสร้างสัญลักษณ์ขึ้น สัญลักษณ์นี้แสดงออกมาในลักษณะเป็นเขาโคสองเขามีวงกลมอยู่ระหว่างกลาง ซึ่งสัญลักษณ์นี้ถูกนำมาใช้กับเทพเจ้าที่สำคัญของอียิปต์ นักประวัติศาสตร์กรีกโบราณบันทึกไว้ว่า ชาวอียิปต์เป็นชนชาติที่เคร่งครัดศาสนาที่สุดในโลก ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง จะมีเทพเจ้าประจำท้องถิ่นของตน มักจะเป็นสัตย์หรือคนปนสัตย์ เช่น สุนัข แมว เหยี่ยว วัว เป็นต้น เมื่อเมนิสรวบรวมท้องถิ่นเหล่นนี้เข้าด้วยกัน แล้วสถาปนาราชวงศ์ขึ้นปกครองประเทศ เทพเจ้าเหล่านี้ก็มาอยู่รวมกัน อียิปต์จึงมีเทพเจ้าที่เคารพนับถือหลายองค์ (Polytheism) เทพเจ้าที่สำคัญๆ มีดังนี้

รา หรือ เร เป็นสุริยเทพ (Sun God) เดิมอยู่ที่เมืองยูน (Ra or Re) (Yun) ที่ชาวกรีกเรียกว่าเมือง เฮลิโอโปลิส (Heliopolis) มีสัญลักษณ์เป็นเสาหินที่เรียกว่า โอเบลลิส์ก (Obelisk) ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้ารา ควบคู่ไปกับเททพเจ้าท้องถิ่นพระนามของเทพเจ้าองค์นี้มักจะไปต่อท้ายนาม
เทพเจ้าองค์อื่นๆ เช่น อมอนรา (Rmmon-Ra) เซเบครา(Sebec-Ra) ในราวราชวงศ์ที่ 5 เทพเจ้าราได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้าสูงสุด โอซิริส เป็นเทพเจ้าชั้นสูงเป็นที่เคารพนับถือกันมาก ได้ (Osiris) ชื่อว่า เทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์แห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ ทั้งนี้เนื่องจากแม่น้ำที่ไหลหลากมาช่วยทำให้พืชพันธุ์ริมฝั่งแม่น้ำไนล์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาสู่ดินแดนเหล่านี้อีกครั้ง มีตำนานเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าโอซิริสว่า โอซิริสถูกเซท ซึ่งเป็นน้องชายฆ่าตาย ร่างกายถูกสับออกเป็นชิ้นๆ แล้วโยนลงแม่น้ำไนล์ ไอซิส ผู้เป็นทั้งน้องสาวและมเหสีได้เก็บเอาชิ้นส่วนของศพที่ลอยน้ำมาชุบชีวิตขึ้นใหม่ การฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่นี้ ดุจเดียวกับพืชพันธุ์ริมแม่น้ำไนล์ที่ล้มตายสูญหายไป ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกเมื่อถึงฤดูนึ้หลาก ปารกฏการณ์เหล่านี้ทำให้ชาวอียิปต์ เชื่อในเรื่องการเกิดใหม่ และเป็นแรงผลักดันสำคัญ ทำให้มีการสร้างมัมมี่และพีระมิดขึ้น นอกจากนี้ โอซิริสยังเป็ยเทพเจ้าที่ทรงคุณงามความดีและยุติธรรม จึงเป็นตุลาการแห่งโลกหน้า วิญญาณของผู้ตายจะต้องไปเฝ้าเทพเจ้าโอซิริส เพื่อตัดสินที่จะไปเกิดใหม่ การเครพเทพเจ้าโอซิริสเป็นไปอย่างกว้างขวาง บางครั้งมีความเชื่อว่าเมื่อฟาโรห์ตายไปแล้วจะไปสู่อีกภพหนึ่งและกลายเป็นเทพ โอซิริส เพื่อปกครองภพนั้นเช่นเดียวกับที่ปกครองโลกนี้ ต่อมาคำว่า โอซิริส ได้กลายมาเป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึงคนที่ตายไปแล้ว ไอซิส เป็นมเหสีและน้องสาวของโอซิริส มีรูปโฉม(Isis) งดงาม เทพีไอซิสถูกเทพเจ้าโฮรัสตัดศีรษะ แล้วเอาหัววัวมาใส่แทน เนื่องจากแม่น้ำไนล์เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลมาโดยไม่มีฝนตก ทำให้ชาวอียิปต์เชื่อว่า เป็นน้ำตาของเทพีไอซิส ร้องไห้ที่สามีถูกเซทน้องชายฆ่าตาย เทพีไอซิส
ได้ชื่อว่าเป็นเทพีแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหารและความสมบูรณ์ เซท เทพเจ้าประจำอียิปต์บน (Upper Egypt)(Seth) ผู้สังหารเทพโอซิริส ภายหลังถูกทำร้ายจนตาบอด ซึ่งเป็นความหมายถึงความจงเกลียดจงชังทำให้ตาบอด มืดมัวมองไม่เห็น เป้นตัวแทน ความมืดของพายุร้ายกลางทะเลทราย โฮรัส โอรสของโอซิริสและไอซิส มีศีรษะเป็นเหยี่ยว (Horus) ถือเครื่องหมายของชีวิตฟาโรห์นั้นถือว่าเป็น องค์เดียวกับเทพโฮรัส และฟาโรห์ก็อ้างอีกว่าเป็นโอรสของเทพเจ้ารา สภาพอันไร้เหตุผลนี้ เป็นลักษณะเฉพาะของความคิดเกี่ยวกับศาสนาของอียิปต์ ซึ่งเป็นความเจริญงอกงามทาง จินตนาการที่ฟุ้งซ่านเต็มไปด้วยข้อขัดแย้งที่เห็นได้อย่างชัดเจน อนูบิส ในระยะแรกเป็นเทพเจ้าผู้ดูแลซากศพ (Anubis) เนื่องจากเดิมพวกหมาในชอบขุดซากศพมนุษย์มาแทะกระดูก จึงมีการทำที่บรรจุศพด้วยหินเพื่อป้องกันหมาใน ในยุคต่อมา เทพอนูบิสเป็นเทพเจ้าแห่งโลกหน้า เป็นผู้นำเอาหัวใจ (วิญญาณ) ของผู้ตาย ขึ้นตราชั่งน้ำหนักกับขนนก เพื่อวัดว่าผู้นั้นทำบุญและบาปมากน้อยเพียงใด เทพเจ้าอนูบิสมีศีรษะเป็นสุนัข ฮาเธอร์ เทพีแห่งความรัก และการเกิดของเด็ก มี(Hathor) สัญลักษณ์เป็นวัวตัวเมีย เป็นเทพีผู้ให้น้ำนมเลี้ยงโฮรัส เทพีฮาเธอร์ เป็นเทพีองค์แรกที่ได้เปลี่ยนแปลงจากรูปจากสัตย์มาเป็นมนุษย์ก่อนเทพีองค์อื่นๆ กล่าวคือมีหัวและตัวเป็นมนุษย์ทั้งหมด แต่มีสัญลักษณ์เป็นเขาวัว อยู่บนศีรษะ พตาห์ เทพเจ้าประจำเมืองเมมฟิส เทพเจ้าแห่งศิลปะ(Ptah) และการช่าง สมัยที่เมนีสรวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น เมนีสยกย่องให้เป็นมหาบิดาของมหาเทพทุกองค์ อมอน เทพเจ้าประจำเมืองธีบส์ เป้นเทพเจ้าที่ไม่อาจ (Ammon) มองเห็นเป็นตัวตนได้ บางครั้งอาจแทรกอยู่ในลมหายใจ หรือแทรกอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตทั่วไป และเป็นวิญญาณที่สถิตอยู่ทุกแห่ง รูปร่างของ เทพองค์นี้หากปรากฏให้เห็น มีสัญลักษณ์ได้หลายอย่าง เช่น แกะ แพะหรือ งู เป็นต้น
ธอธ มีศีรษะเป็นนกกระสา เทพเจ้าแห่งความรู้และ(Thoth) การขีดเขียน
โซเบค มีศีรษะเป็นจระเข้ เทพเจ้าแห่งท้องน้ำ(Sobek)
คนูม เทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ผู้ให้กำเนิดโลก (Khnum) และพื้นน้ำ มีศีรษะเป็นแกะ
บาส์ท เทพีแห่งความร่าเริงและความรัก มีศีรษะเป็น(Bast) แมว
เนคเบท เทพีผู้คุ้มครองฟาโรห์ ประจำอียิปต์บน มี(Nekhbet) สัญลักษณ์เป็นแร้ง
เอปิส เทพเจ้าผู้ทรงพลัง เป็นวัวตัวผู้สีดำ มีรอย (Apis) ด่างที่หน้าผาก
แอมมุท เทพเจ้าผู้ทรมานวิญญาณของผู้กระทำบาปมี (Ammut) รูปร่างกึ่งสิงโต กึ่งจระเข้
สกาแรบ เทพเจ้าแห่งชีวิตใหม่ เป็นแมลงปีกแข็ง (Scarab) (แมลงช้าง) อตอม เทพเจ้าประจำเมืองอมานา เป็นเทพองค์(Aten) เดียวที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทพองค์อื่นๆ สัญลักษณ์เป็นดวงอาทิตย์


ความเชื่อเกี่ยวกับมัมมี่
ชาวอียิปต์มีความเชื่อว่า มนุษย์ประกอบไปด้วยสิ่งสองสิ่ง คือ ร่างกายและวิญญาณ (body and ka) เมื่อตายลวิญญาณจะไม่ดับสูญ เพราะวิญญาณเป็นสิ่งอมตะ ดังนั้นจะมีตัวแทน (double) เกิดขึ้น เขาจึงพยายามค้นหาวิธีที่จะรักษาศพไว้ไม่ให้เน่าเปื่อยได้สำเร็จ ศพที่รักษาไว้นี้ เรียกว่า มัมมี่ (Mummy) ปราชญ์ชาวกรีกชื่อว่า เฮโรโดตุส เล่าเรื่องวิธีอาบน้ำยาศพของชาวอียิปต์สรุปได้ดังนี้ ผู้รับจ้างอาบยาศพมีผู้ช่วยหลายคน คนหนึ่งมีหน้าที่ล้างสมอง คนหนึ่งทีหน้าที่ฉีดยา อีกคนหนึ่งมีหน้าที่คอยเจาะ คอยล้างส่วนต่างๆ ของร่างกายที่จำเป็น ขั้นแรกเอาข้อเหล็กชักเขาไปในรูจมูกทั้งสอง เพื่อเอามันสมองออก แล้วฉีดยาเข้าไปในกะโหลก ขั้นต่อไปเจาะสีข้างดึงไส้ออกมาล้างด้วยน้ำเหล้า หรือยาชนิดหนึ่งที่ทำจากต้นปาล์ม (อินทผลัม) แล้วเอาไส้นั้นมาคลุกกับเครื่องยาหรือเครื่องหอมที่ป่นไว้ เอาไส้คลุกยาแล้วยัดกลับลงไปในร่างพร้อมเครื่องยาชนิดหนึ่ง เสร็จแล้วเย็บสีข้างให้ติดกับไว้ตามเดิม แล้วเอาร่างแช่ไว้ในน้ำยาชนิดหนึ่งซึ่งมีรสเค็ม แช่ไว้เป็นเวลา 60 วัน แล้วเอาออกตากแดด ร่างนั้นจะแห้งพร้อมไปกับยาที่ไม่มีกลิ่น ครั้งเสร็จทุกอย่างแล้ว เอาผ้าเล็กๆ (ผ้าลินิน) ชุบน้ำยาสมานกระดูกพันศพตามส่วนต่างๆ เช่นข้อต่อและส่วยสำคัญของศพที่เห็นว่าจะหักหรือหลุดได้ง่าย แล้วห่อศพด้วยผ้าเนื้อดี ซึ่งชุบน้ำยาแล้ว 3 ชั้น เสร็จแล้วใช้ผ้าสีแดงอย่างดีทับอีกชั้นหนึ่ง เอาศพนั้นใส่หีบไม้ 2 – 3 ชั้น ซึ่งตามปกติเป็นหีบคล้ายรูปคน ตอนหัวแกะเป็นหน้าของผู้ตาย ในสมัยแรกของอาณาจักรเก่า เฉพาะองค์ฟาโรห์เท่านั้นที่ได้รับสิทธิให้ชีวิตกลับสู่ร่างเดิมเมื่อตายไปแล้ว แต่ในสมัยต่อมา ความเชื่อเกี่ยวกับการกลับไปสู่ร่างเดิม ได้กลายเป็นความหวังของชาวอียิปต์ทุกคน และจะจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับการตายอย่างดีที่สุด ซึ่ง นัก Egyptologist ได้กล่าวว่า “ผู้ตายนั้นจะไปอยู่บนสวรรค์ในเรือของเทพเจ้าภายใต้โลก และทำงานในทุ่งนาสวรรค์ ในขณะเดียวกันก็รับประทานอาหารอย่างมีความสุขในสุสานของเขาด้วย” ดังนั้นเขาจึงได้พยายามบรรจุสิ่งของต่างๆ เข้าไว้ในสุสาน สิ่งที่สำคัญคือเรือ ซึ่งจะเป็นพาหะนำวิญญาณของผู้ตายเดินทางไปใต้พิภพ นอกจากเรือแล้วยังมีหุ่นคนใช้และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่า แม้คนที่อยู่ในตำแหน่งสูงๆ เมื่อตายลแล้ว ก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงงานของคนใช้ได้ ดังนั้นในสมัยอาณาจักรกลางจึงได้จัดทำสิ่งที่เรียกว่า ยูสเฮบิท (Ushebits) ใส่ลงไปเป็นตัวแทนเป็นจำนวนมาก เพื่อว่า เมื่อผู้ตายต้องไปทำงานในโลกหน้า จะได้ใช้ตัวแทนได้โดยตัวเองไม่ต้องทำงาน ดังนั้นจำนวน ยูสเฮบิท ที่ใส่ลงไปในที่บรรจุศพ จึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นจำนวนร้อยและบางแห่งบรรจุเป็นจำนวนพันทีเดียว ชาวอียิปต์ยังมีความเชื่อต่อไปอีกว่า ศพของผู้ตายต้องไปถูกชำระโทษในอาณาจักรมฤตยู มีเทพเจ้าโอซิริสเป็นตุลาการ ซึ่งจะพิจารณาความดีและความชั่วเพื่อตัดสินลงโทษ ผู้ตายจะต้องเตรียมคำให้การต่อหน้าเทพเจ้าโอซิริส ดังนั้นเมื่อมีคนตายลง ญาติพี่น้องของผู้ตาย จะจารึกประวัติและเร่องราวของผู้ตายโดยสังเขป ลงบนกระดาษปาปิรัสแล้วใส่ลงไปในหีบศพด้วย เรียกว่า หนังสือแห่งความตาย (Book of the Dead) ตัวหนังสือเหล่านี้บางครั้งจะเขียนไว้บนกระดาษปาปิรัสหรือบนหีบศพ เรียกว่า คอฟฟินเท็กซ์ (Coffin Texs) หนังสือแห่งความตายนี้คือบันทึกสำคัญที่ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวของชาวอียิปต์ได้เป็นอย่างดี เช่น คำให้การว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้ประทุษร้ายต่อชีวิตหรือสมบัติของผู้อื่น, ข้าพเจ้าไม่ได้ยุยงให้เกิดการทะเลาะวิวาททำลายล้างกัน, ข้าพเจ้าไม่เคยพูดปด ไม่เคยโกรธเคืองผู้อื่น, ข้าพเจ้าเคยให้อาหารแก่ผู้อดอยาก เคยให้เสื้อผ้าแก่ผู้ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม, ข้าพเจ้ามีปากและมืออันบริสุทธิ์” หลักความคิดของอียิปต์เกี่ยวกับศาสนา แสดงออกด้วยคำว่า มา’อัต (Ma’at) คำนี้ถูกนำไปแปลออกเป็นคำย่อๆ ได้ความหมายหลายอย่าง เช่น ระเบียบ (order) ความสัตย์ (truth) ยุติธรรม (justice) และสัจธรรม (righteousness) ซึ่งช่วยสนับสนุนความคิดในเรื่องศีลธรรมทางศาสนาของชาติอียิปต์โบราณได้เป็นอย่างดี เมื่อวิญญาณของผู้ตายไปเฝ้าเทพเจ้าโอซิริสและให้การเรียบร้อยแล้ว เทพเจ้าโอซิริสก็จะให้เทพเจ้าอนูบิสนำเอาวิญญาณของผู้ตายไป ขึ้นตราชั่งแห่งความสัตย์ เมื่อเป็นที่พอใจว่าดวงวิญญาณมีคุณงามความดีอยู่มาก วิญญาณนั้นก็จะได้ท่องเที่ยวไปนานราวสามพันปี ก็จะกลับมาสู่ร่างเดิม แต่ถ้าวิญญาณนั้นถูกตัดสินว่ามีบาปมาก วิญญาณนั้นจะต้องไปใช้กรรมจนกว่าจะถูกปลดปล่อย
ฝาโลงศพนิยมแกะสลักเป็นรูปผู้ตายไว้ ที่ทำเช่นนี้เพราะเชื่อว่า แม้ศพอาบน้ำยาสูญหายไป หรือเน่าเสียไป วิญญาณที่กลับมาก็สามารถจำที่ฝังศพของตนได้

ศิลป์กรรมอียิปต์โบราณ
ศิลปกรรมของอียิปต์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะตนยาวนานถึงสามพันปี ในระยะเวลาดังกล่าว งานศิลปกรรมไม่ได้วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมากนัก เมื่ออียิปต์ตกอยู่ในอำนาจของชาติอื่นงานศิลปกรรมจึงค่อยๆ เปลี่ยนไป


ความสำเร็จทางสติปัญญา
1. ปรัชญา ชาวอียิปต์โบราณจะเน้นปรัชญาทางศีลธรรมและการเมืองโดยพวกเขา เชื่อว่าจักรวาลถูกควบคุมด้วยจิตใจหรือสติปัญญา ซึ่งจะสามารถศึกษาได้จากผลงานของพระและนักปราชญ์ต่างๆ คือ
1.1. ปรัชญาทางศีลธรรม จากตัวอย่างผลงานของ เทโฮเทพ (Ptehotep) เรื่อง “แมกซิมส์” (Mexims) วิเซียร์ของฟาโรห์ในสมัยราชวงศ์ที่ 5 ประมาณปี 2500 ก่อนคริสต์ศักราช มีประมาณ 41 ตอน เป็นคำสอนแก่บุตรชายของเขาให้เป็นคนมีความเมตตากรุณา อดทน ใจดี ร่าเริง และเหนือสิ่งอื่นใดต้องเป็นคนมีศีลธรรม ความยุติธรรม ความเสียสละ ละความโลภ ให้มีความอดกลั้น นับเป็นการสอนเรื่องด้านศีลธรรมเรื่องแรกในประวัติศาสตร์โลก เทโฮเทพยังอธิบายการอยู่รอดในโลกได้อย่างไร การเป็นข้าราชการต้องเรียนรู้กฎระเบียบ โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อผู้อยู่เหนือกว่าผู้เสมอ และผู้ที่ต่ำกว่าตน ถ้าเป็นคนเก่งก็จะประสบความสำเร็จมาก ต่อมาในสมัยอาณาจักรกลาง (ประมาณปี 2050-1560 ก่อนคริสต์ศักราช) ปรัชญาทางศีลธรรม ได้เปลี่ยนเป็นการมองในแง่ร้าย ตัวอย่าง “บทเพลงของนักเล่นพิณ” (Song of the Harp-Player) ซึ่งฟาโรห์ราชวงศ์ที่ 11 ประมาณปี 2100 ก่อนคริสต์ศักราช ทรงสลัก “บทเพลงของนักเล่นพิณ” ไว้บนกำแพงหลุมฝังศพของพระองค์ ซึ่งเป็นปรัชญาว่า “ความตายเป็นสิ่งธรรมดาที่ ฟาโรห์หรือคนรับใช้ต้องประสบหลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่ทราบวันตาย ตายแล้วจะเป็นอย่างไรก็ไม่มีใครทราบ ฉะนั้นขณะที่มีชีวิตอยู่ต้องทำความดี ทำชื่อเสียงที่ดีโดยการให้ทาน และมีความเมตตากรุณาแก่ผู้ยากไร้” นับได้ว่าฟาโรห์องค์นี้ทรงเป็นนักพูดที่ได้ชี้ให้เห็นความจริงที่ถูกต้องแก่ชาวอียิปต์ และสะท้อนให้เห็นว่า ฟาโรห์องค์นี้เป็นผู้มีศีลธรรมและเข้าใจหลักธรรมของชาวโลกเป็นอย่างดี

ชาวอียิปต์มีความเชื่อในความดีตามแนวศีลธรรม การกระทำที่ถูกต้องและความชอบธรรม เพื่อให้ทั้งพระเจ้าและฟาโรห์และมนุษย์พอใจ แต่ภายหลังจากที่อาณาจักรเก่าเสื่อมลงไป จริยธรรมเข้าไปรวมกับศาสนามากขึ้น ขณะที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ต้องมีความประพฤติที่ถูกต้องตามศีลธรรม และจะทำให้มีชีวิตภายหลังจากการตายไปแล้วได้ดี ชาวอียิปต์ยังถือว่าเวทมนตร์และพิธีกรรมต่างๆ จำเป็น เพื่อจะให้วิญญาณเดินทางไปสู่ท้องพระโรงแห่งการพิพากษาต่อหน้าโอซิริส จึงรวมไว้ในพระคัมภีร์มรณะ สรุปได้เป็น
การแสดงความเคารพเทพเจ้าต่าง ๆการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนตามแนวศาสนามาตรฐานของศีลธรรมของ แต่ละบุคคล การย่ำเรื่องความยุติธรรมในสัคม หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเวทมนตร์คาถา ปรัชญาทางการเมือง ประมาณ 2300 ก่อนคริสต์ศักราช มีพระรูปหนึ่งชื่อเคเคเปอเร โซเนบ (Khekheperre Soneb) จากเมืองเฮลิโอโปลิส เป็นคนแรกที่ต่อต้านความอยุติธรรมของคนชั้นสูงที่มีต่อคนยากจน ผลงานของเขาแม้ว่าจะไม่มีผลต่อการปฏิรูป แต่ก็ได้สะท้อนให้เห็นความคิดที่วิจารณ์สังคมในสมัยนั้น นับเป็นเรื่องแรกที่วิจารณ์สังคมไว้ในประวัติศาสตร์ ต่อมาประมาณปี 2100 ก่อนคริสต์ศักราช มีผลงานทางการเมืองอีกเรื่องหนึ่งชื่อ “คำประท้วงของชาวนาเจ้าคารม” (The Plea of the Eloquent Peasant) ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าอาจจะแต่งตามพระบรมราชโองการ เพื่อส่งเสริมศีลธรรมของข้าราชการใต้บังคับบัญชาให้มีสูงขึ้น และเพื่อให้การปกครองที่ยุติธรรมของพระองค์ปรากฏทั่วไป การเขียนเป็นแบบร้อยแก้ว กล่าวถึงชาวนาคนหนึ่งถูกข้าราชการที่ไม่มีศีลธรรมขโมยของไป ชาวนาผู้นี้จึงได้ไปอุทธรณ์ต่อฟาโรห์ จนในที่สุดชาวนาก็ได้ของตนคืนมา เรื่องนี้แม้จะเป็นเพียงเรื่องเดียวที่แต่งขึ้นมา แต่ก็เป็นความคิดทางปรัชญาและฟาโรห์ต้องทรงภูมิธรรมมาก

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่แบ่งหัวข้อละเรื่องละ - -"

    ทำเรื่องเดียวทุกหัวข้อเรยหรอ

    ยาวไปมั้ง -..-

    ตอบลบ