วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 10250

เรื่องของ อียิปต์>"<~~

อียิปต์
ลักษณะทั่วไป
อียิปต์อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศใต้จดเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกจดทะเลแดง และทิศตะวันตกจดทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายลิเบีย อากาศค่อนข้างจะแห้งแล้ง มีฝนตกแต่เพียงเล็กน้อย คร่อมแหลมไซนายอียิปต์มีแม่น้ำไนล์ซึ่งมีความยาวประมาณ 400 ไมล์ ไหลผ่านเป็นแนวยาวจาก วาดิฮัลฟา ในเขตซูดาน จนถึงไคโร ช่วยให้บริเวณสองฝั่งแม่น้ำชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลมาจากแถบภูเขาเอธิโอเปีย ปากน้ำไนล์จะแยกเป็นสองแถวเนื่องจากนับเป็นวลาหลายพันปี น้ำได้พาเอาโคลนมาทับถม จนกลายเป็นสันดอนขึ้น ทำให้แตกเป็นรูปพัดก่อน และไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณนี้จะอุดมสมบูรณ์เป็นพิเศษ เรียกว่า เดลต้า (Delta) ที่ให้เกิดแผ่นดินรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า อียิปต์ล่าง โลเวอร์ อียิปต์ “Lower Egypt” มีเมืองสำคัญ คือ อเล็กซานเดรีย รุ่งเรืองมาแต่ครั้งโบราณ ทางตะวันออกของสามเหลียมเป็นแหลมไซนาย บริเวณที่ขุดคลองสุเอซ มีเมืองท่าชื่อปอตซาอิต ส่วนที่อยู่ใต้เมืองไคโร เรียกว่า อียิปต์บน อัพเปอร์อียิปต์ “Upper Egypt” แถบรุ่มแม่น้ำไนล์และอยู่ระหว่างแม่น้ำไทกรีซ กับยูเฟติส เป็นอู่อารยธรรมโบราณมาราว สามพันถึงห้าพันปีก่อนคริสตกาลมาแล้ว มีพื้นที่ราวสี่แสนตารางไมล์ ปัจจุบันมีพลเมือง 40 กว่าล้านคน


สถาปัตยกรรมของชาวอียิปต์ เป็นเสาสูง ลักษณะแข็งแรงส่วนยอดเสาจะมีฐานรองเป็นรูปเหลี่ยมทำให้ดูแข็งแรงเมื่อรับน้ำหนักของหลังคา ศิลปะการแกะสลักหรือวาดภาพคน บนผนังโบสถ์หรือกำแพงนั้น สามารถทำให้เราทราบถึงการแต่งกายของชาวอียิตป์สมัยนั้นได้เป็นอย่างดี รูปคนของชาวอียิปต์เขียนด้วยเส้นที่เจาะลงบนหินระบายสีสดใสฉูดฉาด เครื่องแต่งกายประดับด้วยผ้าชิ้นเดียวแบบง่ายๆ ที่สุด อาจจะเป็นเพราะอยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง เรื่องราวของอียิปต์ปรากฏตั้งแต่ 4000 ปี ก่อนคริสตกาล สภาพความเป็นอยู่ในระยะแรกๆ อยู่รวมกันเป็นหมู่ โดยมีหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลปกครอง เมื่อขนาดของหมู่บ้านขยายใหญ่ขึ้น จึงกลายเป็นรัฐหรือจังหวัด เรียกว่า โนมิส (Nomes) จนกระทั่งประมาณ 3200 B.C เมนิส (Menes) จากอียิปต์บน ได้รวบรวมรัฐหรือจังหวัดต่างๆ เข้าด้วยกัน แล้วสถาปนาราชวงค์ขึ้นปกครองอียิปต์เป็นครั้งแรก เป็นการเริ่มต้น ประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ (Dynastic Period)

อารยธรรมสำคัญของอียิปต์
แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ คือ
2. การปกครอง
3. ด้านเศรษฐ์กิจ
4. ด้านสังคม